จังหวัดสุโขทัยมีการเลี้ยงช้างกันมากที่ตำบลบ้านตึก การเลี้ยงช้างเป็นวิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างคนกับช้างและต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ ช้างเป็นสัตว์บกที่มีลำตัวขนาดใหญ่และสามารถฟังภาษามนุษย์และปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดีถ้าได้รับการฝึก เวลาที่อยู่ในป่าจะอยู่รวมกันเป็นโขลง มีหัวหน้าโขลงควบคุม ช้างเพศผู้เรียกว่าช้างพลาย ช้างเพศเมียเรียกว่าช้างพัง การจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานเรียกว่า การคล้องช้าง เมื่อจับช้างได้แล้วหมอช้างจะทำพิธีไล่ผีป่าออกจากช้างและเมื่อนำช้างมาถึงบ้านก็จะทำพิธีสู่ขวัญช้างเพื่อความเป็นศิริมลคลแก่ช้างและเจ้าของ ก่อนที่จะนำช้างไปใช้งาน ต้องทำการฝึกให้เชื่องเสียก่อน สามารถฟังคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งที่ควาญช้างสั่งได้ การฝึกช้างนี้ชาวบ้านเรียกว่า เอาช้างเข้าซอง ลูกช้างจึงเหมาะที่จะได้รับการฝึก เพราะฝึกง่าย เชื่อฟังคำสั่ง การสร้างซองเพื่อฝึกช้างต้องนำต้นไม้ขนาดใหญ่พอสมควรมาฝังดินคู่กันในแนวตั้ง สูงกว่าความสูงของช้างและห่างกันพอที่จะหนีบคอช้างไม่ให้หลุดเวลาที่ช้างดิ้นรนขณะฝึกด้านบนสุดของซองใช้โซ่ขันชะเนาะแน่นหนา จากนั้นควาญช้างหรือผู้ชำนาญในการฝึกช้างก็จะขึ้นขี่บนคอช้าง ใช้ตะขอหรือขอบังคับช้าง ตลอดจนใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกันระหว่างคนกับช้างโดยจะฝึกกันทุกวันจนกว่าช้างจะจำและปฏิบัติตามคำสั่งที่ควาญต้องการ ภาษาช้างหรือภาษาที่คนพูดกับช้างจะเป็นคำสั้นๆ เพื่อให้ช้างจำได้ง่าย สำหรับภาษาช้างที่ใช้กันอยู่ในแถบพื้นที่ของตำบลบ้านตึก ดินแดนเมืองด้งในอดีต มีดังนี้
คำสั่งของควาญช้าง ความหมายในทางปฏิบัติ
ฮาว ให้หยุด
ไป ให้เดินต่อไป
ชิด ให้เข้าไปใกล้ ชิด ติด
ดุน เดินถอยหลัง
ทาว การคู้เข่าหลังทั้งสองข้าง
ต่ำ การคู้เข่าหน้าทั้งสองข้างและก้มหัวลง
ทาวต่ำลง การคู้เข่าลงทั้งหมดทั้งสี่เท้าให้ติดดิน
ส่ง ยกขาหน้า
สูง ยกขาหน้าข้างเดียวเพื่อให้คนเหยียบขึ้นขี่บนคอ
จับมาๆ สั่งให้จับสิ่งของที่ตกหล่นส่งให้กับคนที่ขี่บนคอ
บน ๆ ให้ใช้งวงฟาดหรือกดสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้าในระยะสูง
สาวมา ใช้งวงดึงโซ่ที่ผูกขามากองรวมกัน
อย่า เป็นการสั่งห้ามไม่ให้ดื้อรั้นหรือทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ
มานี่ ให้เดินเข้าใกล้ผู้สั่งหรือเดินตาม
งัด ใช้งวงหรืองางัดท่อนไม้ให้กลิ้ง
โสก ใช้ขาดันให้ท่อนไม้เคลื่อนที่ออกไปด้านหลังในแนวตรง
ยก ใช้งาสอดท่อนไม้ตามขวาง ใช้งวงรัดและยกขึ้น
รับ ยกขาหน้าสูงขึ้นเพื่อให้คนที่ขี่บนคอเหยียบลง
ทาวแม้บ ขณะอาบน้ำในคลอง ควาญช้างใช้มือตบที่หัวช้างแล้วสั่งเพื่อต้องการให้นอนและหัวช้างดำลงมิอผิวน้ำ
จก ใช้งวงดูดน้ำแล้วพ่นเข้าปาก
กด ใช้งวงดูดน้ำแล้วพ่นเข้าปาก
อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้กับช้างใช้งาน
โซ่
ขนาด 3-4 หุน ผูกขาช้างล่ามโซ่ติดกับต้นไม้ใหญ่
ลำยง (ลำโยง)
ขนาด 4-5 หุน เป็นโซ่ชักลากซุง
พานหน้ารองบ่า
ถักทอด้วยเชือกเป็นผืนยาว 1.5 เมตร ปลายสองข้างมีรูสำหรับสอดโซ่ลำยง
หนังรองหลัง
ทำจากเปลือกไม้ ใช้เชือกถักทอเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า ยาว 1.5 เมตร ใช้สำหรับรองบนหลัง
ตะขุบ (ไม้ก๊อบ)
มี 2 อัน เป็นไม้หน้าตัดสี่เหลี่ยม ยาว 50 เซนติเมตรขนาดเท่าต้นกล้วยใหญ่ ใช้วางทับไม่ให้หนังหล่นหรือหลุด
สายรัดตะโคน
ทำด้วยหวาย ยาวเข้าคู่กัน 2 เส้น ปลายสอดข้างขมวดเป็นวงกลม ผูกรัดตัวช้างโดยกดทับอยู่บนตะขุบ ให้ยึดแน่นกับแผ่นรองหลัง
แหย่ง
สร้างด้วยโครงไม้รูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างโค้งเพื่อให้วางเข้ารูปกับหลังช้าง เพื่อบรรทุกสิ่งของ หรือให้คนนั่ง
บ่วงคล้องช้าง
ใช้เชือกผูกยึดระหว่างโคนหางกับแหย่ง ไม่ให้ลื่นไหลไปด้านหน้า
ไม้ค้ำโซ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดเท่าแขน ค้ำโซ่ลำยงให้ห่างจากตัวช้างเพื่อป้องกันการเสียดสี
เครื่องมือบังคับช้าง
ตะขอ
มีรูปร่างยาวประมาณ 1 คืบ ทำด้วยเหล็กขนาดเท่าหัวแม่มือปลายแหลมเป็นรูปโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ 1 ศอกถ้าจะให้ช้างหันมาทางขวา จะใช้ตะขอเกี่ยวกกหูด้านซ้ายแล้วดึงมาทางขวา ถ้าจะให้หันทางซ้ายก็จะใช้ตะขอเกี่ยวทางด้านขวาแล้วดึงมาทางซ้าย ถ้าจะให้ช้างหยุดก็ใช้ตะขอเกี่ยวที่กลางหัวบริเวณโหนกแล้วดึง พร้อมกับพูดว่า "ฮาว"
หอก
ทำด้วยเหล็ก มีรูปร่างคล้ายมีดปลายแหลมยาว 1 คืบ ด้านตรงข้ามกับปลายแหลม มีรูทรงกระบอก สำหรับใส่ด้าม ยาว 2 วาใช้กับช้างพยศ ดื้อรั้น อาละวาดไม่เชื่อฟัง
กะแจะ
ทำด้วยเหล็กวงกลมร้อยต่อกันหลายวง คล้ายโซ่ มีไว้สวมข้อเท้า หน้าทั้ง 2 ข้าง เหมือนกุญแจมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใส่เพื่อไม่ให้ช้างวิ่ง หรือยกขาทำอันตรายผู้คน
มีดปลายแหลม ใช้สำหรับทิ่มที่หัว หากช้างพยศไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตำรายาสำหรับช้าง
ยาสำหรับช้างนี้เป็นวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้างซึ่งจะช่วยดูแลรักษาโรคให้กับช้างโดยใช้ส่วนผสมคือ
1. น้ำอ้อย 2. มะขาม 3. เหง้าสับปะรด
4. หัวผักหนาม 5. เกลือ 6. บอระเพ็ด หรือ เครือเขาหมาบ้า
7. กะทือ 8. ปะเลย (ไพล) 9. มะพร้าวขูด
ในส่วนของวิธีการทำนั้น จะนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วปั้นเป็นก้อนนำไปตากแดด 2-3 วัน ให้แห้ง แล้วให้ช้างกิน จะช่วยบำรุงกำลังช้างให้มีกำลังมากๆ และรักษาโรคต่างๆ ให้กับช้าง
คำสั่งของควาญช้าง ความหมายในทางปฏิบัติ
ฮาว ให้หยุด
ไป ให้เดินต่อไป
ชิด ให้เข้าไปใกล้ ชิด ติด
ดุน เดินถอยหลัง
ทาว การคู้เข่าหลังทั้งสองข้าง
ต่ำ การคู้เข่าหน้าทั้งสองข้างและก้มหัวลง
ทาวต่ำลง การคู้เข่าลงทั้งหมดทั้งสี่เท้าให้ติดดิน
ส่ง ยกขาหน้า
สูง ยกขาหน้าข้างเดียวเพื่อให้คนเหยียบขึ้นขี่บนคอ
จับมาๆ สั่งให้จับสิ่งของที่ตกหล่นส่งให้กับคนที่ขี่บนคอ
บน ๆ ให้ใช้งวงฟาดหรือกดสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้าในระยะสูง
สาวมา ใช้งวงดึงโซ่ที่ผูกขามากองรวมกัน
อย่า เป็นการสั่งห้ามไม่ให้ดื้อรั้นหรือทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ
มานี่ ให้เดินเข้าใกล้ผู้สั่งหรือเดินตาม
งัด ใช้งวงหรืองางัดท่อนไม้ให้กลิ้ง
โสก ใช้ขาดันให้ท่อนไม้เคลื่อนที่ออกไปด้านหลังในแนวตรง
ยก ใช้งาสอดท่อนไม้ตามขวาง ใช้งวงรัดและยกขึ้น
รับ ยกขาหน้าสูงขึ้นเพื่อให้คนที่ขี่บนคอเหยียบลง
ทาวแม้บ ขณะอาบน้ำในคลอง ควาญช้างใช้มือตบที่หัวช้างแล้วสั่งเพื่อต้องการให้นอนและหัวช้างดำลงมิอผิวน้ำ
จก ใช้งวงดูดน้ำแล้วพ่นเข้าปาก
กด ใช้งวงดูดน้ำแล้วพ่นเข้าปาก
อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้กับช้างใช้งาน
โซ่
ขนาด 3-4 หุน ผูกขาช้างล่ามโซ่ติดกับต้นไม้ใหญ่
ลำยง (ลำโยง)
ขนาด 4-5 หุน เป็นโซ่ชักลากซุง
พานหน้ารองบ่า
ถักทอด้วยเชือกเป็นผืนยาว 1.5 เมตร ปลายสองข้างมีรูสำหรับสอดโซ่ลำยง
หนังรองหลัง
ทำจากเปลือกไม้ ใช้เชือกถักทอเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า ยาว 1.5 เมตร ใช้สำหรับรองบนหลัง
ตะขุบ (ไม้ก๊อบ)
มี 2 อัน เป็นไม้หน้าตัดสี่เหลี่ยม ยาว 50 เซนติเมตรขนาดเท่าต้นกล้วยใหญ่ ใช้วางทับไม่ให้หนังหล่นหรือหลุด
สายรัดตะโคน
ทำด้วยหวาย ยาวเข้าคู่กัน 2 เส้น ปลายสอดข้างขมวดเป็นวงกลม ผูกรัดตัวช้างโดยกดทับอยู่บนตะขุบ ให้ยึดแน่นกับแผ่นรองหลัง
แหย่ง
สร้างด้วยโครงไม้รูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างโค้งเพื่อให้วางเข้ารูปกับหลังช้าง เพื่อบรรทุกสิ่งของ หรือให้คนนั่ง
บ่วงคล้องช้าง
ใช้เชือกผูกยึดระหว่างโคนหางกับแหย่ง ไม่ให้ลื่นไหลไปด้านหน้า
ไม้ค้ำโซ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดเท่าแขน ค้ำโซ่ลำยงให้ห่างจากตัวช้างเพื่อป้องกันการเสียดสี
เครื่องมือบังคับช้าง
ตะขอ
มีรูปร่างยาวประมาณ 1 คืบ ทำด้วยเหล็กขนาดเท่าหัวแม่มือปลายแหลมเป็นรูปโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ 1 ศอกถ้าจะให้ช้างหันมาทางขวา จะใช้ตะขอเกี่ยวกกหูด้านซ้ายแล้วดึงมาทางขวา ถ้าจะให้หันทางซ้ายก็จะใช้ตะขอเกี่ยวทางด้านขวาแล้วดึงมาทางซ้าย ถ้าจะให้ช้างหยุดก็ใช้ตะขอเกี่ยวที่กลางหัวบริเวณโหนกแล้วดึง พร้อมกับพูดว่า "ฮาว"
หอก
ทำด้วยเหล็ก มีรูปร่างคล้ายมีดปลายแหลมยาว 1 คืบ ด้านตรงข้ามกับปลายแหลม มีรูทรงกระบอก สำหรับใส่ด้าม ยาว 2 วาใช้กับช้างพยศ ดื้อรั้น อาละวาดไม่เชื่อฟัง
กะแจะ
ทำด้วยเหล็กวงกลมร้อยต่อกันหลายวง คล้ายโซ่ มีไว้สวมข้อเท้า หน้าทั้ง 2 ข้าง เหมือนกุญแจมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใส่เพื่อไม่ให้ช้างวิ่ง หรือยกขาทำอันตรายผู้คน
มีดปลายแหลม ใช้สำหรับทิ่มที่หัว หากช้างพยศไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตำรายาสำหรับช้าง
ยาสำหรับช้างนี้เป็นวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้างซึ่งจะช่วยดูแลรักษาโรคให้กับช้างโดยใช้ส่วนผสมคือ
1. น้ำอ้อย 2. มะขาม 3. เหง้าสับปะรด
4. หัวผักหนาม 5. เกลือ 6. บอระเพ็ด หรือ เครือเขาหมาบ้า
7. กะทือ 8. ปะเลย (ไพล) 9. มะพร้าวขูด
ในส่วนของวิธีการทำนั้น จะนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วปั้นเป็นก้อนนำไปตากแดด 2-3 วัน ให้แห้ง แล้วให้ช้างกิน จะช่วยบำรุงกำลังช้างให้มีกำลังมากๆ และรักษาโรคต่างๆ ให้กับช้าง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/mwlive.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น