
ระบำโบราณคดีชุดนี้เกิดจากแนวคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดให้มีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เป็นผู้คิดท่ารำ อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งทำนองขึ้นใหม่ให้มีความไพเราะเพราะพริ้ง
เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัยการศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม การแต่งกายแบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้
ศีรษะ
เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัยการศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม การแต่งกายแบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้
ศีรษะ
ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง
ต่างหู
ต่างหู
เป็นดอกกลม
เสื้อในนาง
เสื้อในนาง
สีชมพูอ่อน
กรองคอ
กรองคอ
สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม
ต้นแขน
ต้นแขน
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
กำไลข้อมือ
กำไลข้อมือ
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
ข้อเท้า
ข้อเท้า
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
ผ้ารัดเอว
ผ้ารัดเอว
ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง
ผ้านุ่ง
ผ้านุ่ง
เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ
ทรงผม
ทรงผม
เกล้าผม
ครอบด้วยที่รัดผม
จำนวนผู้เล่น
จำนวนผู้เล่น
ผู้หญิงจำนวน 7 คน (มากกว่านั้นก็ได้แต่ผู้แสดงต้องเป็นเลขคี่)
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรี
ประกอบด้วย ปี่ใน กระจับปี่ ฆ้องวงใหญ่ ซอสามสาย ตะโพน ฉิ่งและกรับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/wdsukhotai.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น